ทักทายกันสักนิด


สร้างความประทับใจด้วย “การทักทาย”

คำทักทายที่ได้ยินและนิยมใช้กันมากสำหรับคนไทยนั่นก็คือ สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ พบว่าคนไทยโดยส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่มีลักษณะของการไปมา ลาไหว้ เจอหน้ากันก็ทักทายปราศรัยซึ่งกันและกัน จะจากกันทีก็ต้องล่ำลากันที

การทักทายจึงเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งที่เป็นเสมือนห่วงโซ่ร้อยใจระหว่างบุคคล ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในทางบวก ( Positive Relations) การทักทายจัดได้ว่าเป็นพรแสวงที่ทุกคนสามารถสร้างให้เกิดขึ้นมาได้ บุคคลที่รู้จักวิธีการทักทายผู้อื่นอย่างเหมาะสมด้วยกาลเทศะ เทคนิค และระดับของผู้ที่ถูกทักทายแล้วล่ะก็ บุคคลผู้นั้นย่อมมีเสน่ห์ชวนคบหาสมาคมด้วย

ลักษณะของการทักทายที่สร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
ทักทายด้วยการคำพูด “ สวัสดี”
คุณสามารถกล่าวคำ “ สวัสดีค่ะ ” หรือ “ สวัสดีครับ ” ได้กับทุก ๆ คน หากไม่รู้ว่าจะหาคำพูดอะไรเพื่อทักทายผู้อื่น คำว่า “ สวัสดี ” เป็นคำพูดง่าย ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกกลุ่ม
ทักทายด้วยการใช้ “ สองมือพนม”
การฝึกฝนตนเองให้มือไม้อ่อนไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ ยิ่งถ้าคุณจะต้องไปพบเจอกับลูกค้าที่อาวุโสกว่า หรือมีคุณวุฒิมากกว่า หรือเป็นลูกค้าใหม่ที่คุณจะต้องไปทำความรู้จักพวกเขา

ทักทายด้วยการสร้าง “ รอยยิ้ม”
ยิ้มเท่านั้นที่สามารถชนะใจลูกค้าได้ คนที่มีรอยยิ้มหรือเป็นคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ บ่งบอกได้ว่าเป็นคนที่อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นบุคคลที่น่าคบหาสมาคมด้วย

ทักทายด้วยการ “ ถามถึงเรื่องทั่วๆ ไป”
หากคุณรู้จักลูกค้าของตนเองดี รู้ว่าเขาชอบ ไม่ชอบอะไร คุณสามารถนำเรื่องดังกล่าวมาเป็นประเด็นที่จะทักทายเพื่อเริ่มต้นการพูดคุยกับลูกค้าของคุณต่อไปได้ หรือคุณนำเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดมาชี้นำหรือตั้งเป็นประเด็นคำถามเพื่อทักทายลูกค้าที่รู้จักก็ย่อมได้
ทักทายด้วยการ “ ให้ของฝาก”

คุณไม่จำเป็นต้องทักทายลูกค้าแบบเผชิญหน้าก็ได้ค่ะ ซึ่งคุณเองสามารถซื้อของฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ ฝากใครก็ได้ส่งให้กับลูกค้าของคุณเอง เป็นการผูกใจลูกค้าค่ะ

เป็นเกร็ดเล็กๆ ขอการเริ่มต้นสร้างคามประทับใจนะครับ